ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
ศูนย์สื่อการเรียนการสอนคืออะไร การดำเนินการและการจัดตั้งศูนย์สื่อการเรียนในสอนในสถานศึกษาของประเทศไทย ส่วนมากจะดำเนินการเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่สมบูรณ์ มีศูนย์สื่อการเรียนการสอนเพื่อให้บริการครูและนักเรียน โดยไม่ได้คำนึงว่าบทบาทของศูนย์สื่อการสอนที่แท้จริงคืออะไร
เมอร์ริล และดรอบ (Merrill and Drob, 1977)
ได้ให้ความหมายของศูนย์สื่อการสอนว่า เป็นองค์กรที่ทำกิจกรรมที่ประกอบด้วยผู้นำ,คณะทำงาน และสถานที่เก็บอุปกรณ์ หนึ่งในส่วนนั้นมีพื้นที่ในการผลิต การจัดหา การนำเสนอของวัสดุการสอน การจัดหาเพื่อพัฒนา และการวางแผนให้บริการซึ่งสัมพันธ์กับหลักสูตรและการสอน ปรัชญาพื้นฐานของการจัดองค์การและการจัดการของศูนย์สื่อการเรียนการสอนคือประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเพื่อการเรียนรู้ สามารถควบคุมประสิทธิภาพให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่าย การให้บริการ การให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ บนกระบวนการที่ได้มาตรฐาน เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์กลางและจัดการระบบควบคุมทั้งหมดเพื่อการเรียนรู้ (Wang, 1994) อาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ศูนย์สื่อการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดองค์กรเพื่อการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันมีที่มาประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ ห้องสมุด การให้บริการสื่อ ช่องว่างของการเรียนแบบเดิม และการพัฒนาการเรียนการสอน ศูนย์สื่อการสอนในแนวคิดเดิมจึงเป็นการนำห้องสมุดอันเป็นแหล่งความรู้ โดยนำสื่อเข้ามาช่วยเพื่อลดช่องว่างของการศึกษาที่มีอยู่เดิมเป็นการช่วยพัฒนาการเรียนการสอน (Peterson, 1974)
ศูนย์สื่อการเรียนการสอนคืออะไร การดำเนินการและการจัดตั้งศูนย์สื่อการเรียนในสอนในสถานศึกษาของประเทศไทย ส่วนมากจะดำเนินการเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่สมบูรณ์ มีศูนย์สื่อการเรียนการสอนเพื่อให้บริการครูและนักเรียน โดยไม่ได้คำนึงว่าบทบาทของศูนย์สื่อการสอนที่แท้จริงคืออะไร
เมอร์ริล และดรอบ (Merrill and Drob, 1977)
ได้ให้ความหมายของศูนย์สื่อการสอนว่า เป็นองค์กรที่ทำกิจกรรมที่ประกอบด้วยผู้นำ,คณะทำงาน และสถานที่เก็บอุปกรณ์ หนึ่งในส่วนนั้นมีพื้นที่ในการผลิต การจัดหา การนำเสนอของวัสดุการสอน การจัดหาเพื่อพัฒนา และการวางแผนให้บริการซึ่งสัมพันธ์กับหลักสูตรและการสอน ปรัชญาพื้นฐานของการจัดองค์การและการจัดการของศูนย์สื่อการเรียนการสอนคือประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเพื่อการเรียนรู้ สามารถควบคุมประสิทธิภาพให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่าย การให้บริการ การให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ บนกระบวนการที่ได้มาตรฐาน เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์กลางและจัดการระบบควบคุมทั้งหมดเพื่อการเรียนรู้ (Wang, 1994) อาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ศูนย์สื่อการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดองค์กรเพื่อการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันมีที่มาประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ ห้องสมุด การให้บริการสื่อ ช่องว่างของการเรียนแบบเดิม และการพัฒนาการเรียนการสอน ศูนย์สื่อการสอนในแนวคิดเดิมจึงเป็นการนำห้องสมุดอันเป็นแหล่งความรู้ โดยนำสื่อเข้ามาช่วยเพื่อลดช่องว่างของการศึกษาที่มีอยู่เดิมเป็นการช่วยพัฒนาการเรียนการสอน (Peterson, 1974)
ทำไมนักการศึกษาจำนวนมากเห็นว่าควรมีศูนย์สื่อการสอนในสถานศึกษา ศูนย์สื่อการสอนช่วยพัฒนาการจัดการศึกษาได้อย่างไร กลับไม่ใช่ประเด็นที่สนใจของโรงเรียนมากกว่าไปศูนย์สื่อการสอนต้องมีอะไรและใครดูแลศูนย์นั้น แม้ว่าการกำหนดให้ศูนย์สื่อการสอนต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่คอยดูแลก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน แต่โดยเนื้อแท้ของการจัดตั้งศูนย์สื่อการเรียนการสอน (Learning Resource Center) ควรต้องคำนึงถึงหัวใจหลักคือ ความเป็นแหล่งที่รวมของการได้มาซึ่งความรู้ที่ผู้เรียนต้องการ เป็นศูนย์ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Students Center) เรียนรู้ผ่านสื่อ (Media) และทรัพยากรต่าง ๆ (Resource) ที่ได้จัดเอาไว้ให้
ศูนย์สื่อการเรียนการสอนไม่ใช่สิ่งใหม่ มีการจัดตั้งขึ้นอย่างมากมายในสถาบันการศึกษาทุกระดับ ในหลายแห่งก็จะเรียกว่าศูนย์วิทยบริการทางการศึกษา อันมีพัฒนาการมาจากแนวคิดของกลุ่มนักบรรณารักษ์ศาสตร์ ซึ่งมีพื้นฐานจากการให้บริการสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด จนถึงบริการด้านสื่อการศึกษาอื่น ๆ จนถึงบริการการฝึกอบรม ส่วนศูนย์เทคโนโลยีการศึกษามีพัฒนาการมาจากศูนย์โสตทัศนศึกษา ซึ่งให้บริการสื่อที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์ การบริการผลิตสื่อหรือเครื่องมือต่าง ๆ ศูนย์วิทยบริการและศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเหมือนกันในเรื่องการบริการ แต่จะแตกต่างกันในด้านการผลิตซึ่งศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา จะมีหน่วยงานผลิต เช่น สื่อโสตทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษายังรับผิดชอบการเรียนการสอน จนถึงการคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอีกด้วย (นิพนธ์ ศุขปรีดี, 2536 : 221-231) ดังนั้นศูนย์สื่อการเรียนการสอนจึงเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามการจัดแบ่งของหน่วยงาน ความสำคัญของแต่ละศูนย์ และหน้าที่เฉพาะที่ได้รับมอบหมาย ลักษณะของศูนย์สื่อการเรียนการสอนจึงแตกต่างกันไป และน่าจะแยกได้ออกเป็นแบบต่าง ๆ ได้แก่
1. ศูนย์สื่อเพื่อการผลิตและเผยแพร่ (Production and Distribution) เป็นศูนย์ที่ทำหน้าที่ในการ ผลิตสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา การผลิตสื่อการสอนในรายวิชาต่าง ๆ การจัดผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอน จัดอบรมการผลิตสื่อและจำหน่ายสื่อให้กับผู้สนใจ 2. ศูนย์สื่อเพื่อให้บริการและสนับสนุนการเรียนการสอน (Service and Support) เป็นศูนย์ที่ ให้บริการสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งอุปกรณ์การสอน การให้คำปรึกษาและข้อแนะนำในการใช้สื่อเป็นศูนย์ที่มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย มีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์สื่อ ให้บริการยืม และสนับสนุนการเรียนการสอน และเป็นศูนย์ที่ทุกคนเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ 3. ศูนย์สื่อครบวงจร เป็นศูนย์ที่รวมรูปแบบของศูนย์สื่อเพื่อผลิตและบริการเข้าไว้ในรูปแบบ เดียวกัน เป็นศูนย์ที่มีการจัดพื้นที่ในการผลิตและให้บริการสื่อทุกประเภท ติดตั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้บริการกับผู้ใช้ มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา จัดอบรมการผลิตสื่อและเผยแพร่นวัตกรรม ให้ยืมอุปกรณ์การศึกษาและจัดจำหน่วยสื่อการสอนที่ศูนย์ผลิตขึ้น 4. ศูนย์สื่อเฉพาะทาง เป็นศูนย์ที่ดำเนินการเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานใด หน่วย งานหนึ่งเป็นพิเศษ อาจเป็นเพียงศูนย์สื่อเพื่อการผลิต ศูนย์สื่อเพื่อการบริการ หรือศูนย์สื่อที่ครบวงจรก็ได้ แต่จะทำงานเพื่อประโยชน์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ เนื่องจากศูนย์สื่อการเรียนการสอน มักจะทำหน้าที่ทั้งในการผลิตและการบริการ มีตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษาพิเศษ ลักษณะของศูนย์จึงย่อมมีความแตกต่างกัน ศูนย์สื่อการสอนบางแห่งก็จะเป็นศูนย์ที่ทำหน้าที่ในการผลิตโดยเฉพาะหรือมีงานเกี่ยวกับการผลิตเป็นหลัก โดยดำเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ ก็ควรแยกศูนย์ในลักษณะนี้ออกเป็นศูนย์เอกเทศ มีการจัดการและการบริหารที่เป็นของตนเอง ให้ศูนย์สามารถดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ วีดิทัศน์ รายการวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกราฟิก หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้อย่างอิสระ มีการจัดอบรมการผลิตสื่อประเภทต่าง ๆ เผยแพร่สื่อที่ศูนย์ผลิตให้คำปรึกษาและแนะนำกับครูอาจารย์ผู้สอนในวิชาต่าง ๆ ได้ ศูนย์ลักษณะนี้อย่างเช่น สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือมหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช หรือศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
แต่ถ้าศูนย์สื่อมีลักษณะในการให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารการสอนชุดวิชา ให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต มีระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าเครื่องเล่นวีดิโอเทป เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เทปเสียงหรือคอมพิวเตอรช่วยสอน มีห้องให้ชมวีดิทัศน์ ติดตั้งระบบดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี มีห้องประชุมย่อย มีผู้คอยให้คำปรึกษาแนะนำการใช้สื่อและอบรมวิธีการใช้ ก็อาจจัดให้ศูนย์ลักษณะนี้เป็นศูนย์บริการเฉพาะหรือรวมอยู่ในห้องสมุด ศูนย์ลักษณะนี้ก็จะเรียกว่าเป็นศูนย์วิทยบริการ หรือศูนย์โสตทัศนศึกษา เช่น ศูนย์โสตทัศนศึกษากลางของ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หรือศูนย์ระดับโรงเรียนแต่น่าสนใจอย่างศูนย์รัตนบรรณาคาร ของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
ส่วนศูนย์สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นศูนย์ครบวงจร เป็นศูนย์ที่พยายามจะให้มีหรือให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะภายในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ ที่พยายามจัดพื้นที่ศูนย์ของตนในการให้บริการอย่างครบวงจร ในขณะที่จัดพื้นที่บางส่วนเพื่อการผลิตไปด้วย ศูนย์สื่อในลักษณะนี้จะมีอยู่มากกว่าแบบอื่น ๆ แต่จะมีสัดส่วนในการให้ผลิตหรือการให้บริการไม่เท่ากัน ไม่สามารถกำหนดเฉพาะตายตัวลงไปได้ เช่นเดียวกับศูนย์สื่อการสอนเฉพาะทางที่มีการกำหนดบทบาทเฉพาะอย่างชัดเจน เช่น ศูนย์พัฒนาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ และเผยแพร่สื่อด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ หรือสำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ที่มุ่งเน้นการผลิตสื่อการสอนเฉพาะทางด้านช่างอุตสาหกรรมและอาชีวศึกษา หรือฝ่ายเวชนิทัศน์ของโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อและให้บริการสื่อเฉพาะทางการแพทย์
ส่วนในระดับสถาบัน วิทยาลัยหรือโรงเรียนก็จะมีระดับของศูนย์สื่อการเรียนการสอนที่แตกต่างไป มีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปเช่น
ศูนย์โสตทัศนศึกษา (Audio-Visual Education Center) ศูนย์โสตทัศน์ (Audio-Visual Center) ศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipment Center) ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology Center) ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Educational Communication and Technology Center) ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology and Innovation Center) ศูนย์สื่อ (Media Center) ศูนย์สื่อการสอน (Instructional Media Center) ศูนย์สื่อการศึกษา (Educational Media Center) ศูนย์บริภัณฑ์สื่อ (Media Resource Center) ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา (Educational Resource Center) ศูนย์สื่อการเรียนการสอน (Learning Resource Center) ศูนย์วิทยบริการ (Academic Resources Center) ศูนย์บริการสื่อการสอน (Media Service Center)
หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดของศูนย์สื่อการสอนก็คือ การเข้ามาของคอมพิวเตอร์ โดยการทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Resources Center) ได้ถูกนำมาใช้ในหน่วย งานทางการศึกษาโดยเฉพาะภายในศูนย์ข้อมูลและศูนย์สื่อการสอนของห้องสมุด เพราะเข้ามาเป็นที่ เก็บข้อมูลและเป็นแหล่งบริการการเรียนรู้ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่กับการศึกษา สามารถนำไปใช้กับงานราชการ โรงเรียน เพราะศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้โปรแกรมรายการต่าง ๆ สมบูรณ์ ศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในห้องสมุดเพื่อทำให้ขั้นตอนที่เคยยุ่งยากสะดวก และการบริการค้นข้อมูลก็จะดีเยี่ยมด้วยศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เต็มรูปแบบ ไม่ต่างอะไรกับโสตทัศนูปกรณ์หรือแผนกไมโครฟิล์มที่เป็นมุมหนึ่งของห้องสมุด ศูนย์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้ผู้บริการสะดวกและเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของห้องสมุดต่อไป (Dickinson, 1994 : 1) ศูนย์สื่อการสอนในอนาคตทุกแห่งต้องพัฒนามาใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักในการจัดสภาพแวดล้อมภายในศูนย์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ต่อเชื่อมโยงระหว่างศูนย์สื่อการสอนต่างสถาบันและระหว่างศูนย์สื่อการสอนกับบ้านของผู้ใช้ โดยมี CD-ROM เป็นฐานข้อมูลที่ผู้เข้าใช้บริการศูนย์สื่อการสอน ต้องเข้ามา ใช้เพื่อการสืบค้นหาความรู้ได้ตลอดเวลาจะกลายเป็นหัวใจสำคัญของศูนย์สื่อในอนาคต เพียงแต่ว่าต้องฝึกให้ผู้ใช้ได้รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ต้องใช้อย่างไร ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่หนึ่งของนักเทคโนโลยีการศึกษาที่ต้องเข้าไปออกแบบ และวางระบบการใช้ให้สัมพันธ์กับการเรียนการสอน (Craver, 1995)
ความเจริญก้าวหน้า ความทันสมัย คุณภาพและประสิทธิภาพของศูนย์สื่อการสอนจะมี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องชี้วัด ปริมาณการใช้บริการของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในศูนย์สื่อจะสูงมากกว่าสื่อทุกตัวที่มีอยู่ภายในศูนย์ การพัฒนาระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั้งในรูปแบบปัจจุบันที่ต่อเชื่อมระบบอินเตอร์เน็ต หรือการเชื่อมโยงด้วยเส้นใยแสง ล้วนแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของศูนย์สื่อที่จะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นหัวใจในเกือบทุกเรื่องโดยที่ไม่ต้องใช้คน
การเชื่อมโยงเครือข่ายศูนย์สื่อในอนาคต
เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อศูนย์สื่อการสอน โดยจะกลายเป็นหัวใจในการศึกษา ด้วยตนเองของผู้เข้ามาใช้บริการของศูนย์สื่อการสอน ภายใต้ปรัชญาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ศูนย์สื่อการสอนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนทั้งแนวคิดการจัดการศูนย์ พื้นที่บริการ และเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการภายในศูนย์ ซึ่งโดยปกติแล้วเจ้าหน้าที่ในศูนย์สื่อการสอนถ้าเป็นในระดับโรงเรียนก็จะใช้ครูในโรงเรียนให้เป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวหรือใช้บรรณารักษ์ห้องสมุด คุณสมบัติที่ครูในโรงเรียนเมื่อมาทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ของศูนย์สื่อการสอน ตามความคาดหวังของอาจารย์ในโรงเรียน ก็คือ ต้องการให้เป็นผู้จัดหาวัสดุสำหรับใช้กับนักเรียน ช่วยอาจารย์ในการอธิบายการใช้วัสดุอุปกรณ์ ช่วยทดสอบอุปกรณ์ ช่วยประเมินผลการใช้เครื่องมือ และเลือกวัสดุสำหรับการสอน โดยดำเนินการเป็นทีมร่วมกับครูเพื่อพัฒนางาน มีการวิจัย และให้บริการการเชื่อมโยง เครือข่ายในการรับวัสดุและบริการที่หาไม่ได้ในท้องถิ่น (Baker and Bender, 1981 : 156) ซึ่งการเชื่อมโยงโดยคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นแนวทางใหม่ของการจัดการศูนย์สื่อการสอนต่อไป
การเชื่อมโยงข้อมูลและการยืมกันระหว่างศูนย์สื่อการสอนจะต้องใช้เครือข่ายเช่น โทรศัพท์ หรือการเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัญหาสำคัญของการเชื่อมโยงก็ได้แก่
1. เนื้อหาข้อมูลที่จะเชื่อมโยง 2. ระบบโทรคมนาคม 3. คุณภาพของการบริการ 4. ทักษะของทีมงาน 5. สภาวะเศรษฐกิจ
การปรับปรุงศูนย์สื่อเพื่อนำระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในโรงเรียน หรือ ระหว่างโรงเรียนด้วย เป็นสิ่งที่เริ่มมีให้เห็นในทางปฏิบัติในระดับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง แต่ในระดับโรงเรียนในประเทศไทยได้มีความพยายามเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ SchoolNet โดยมีโรงเรียนต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศ (ถนอมพร เลาจรัสแสง, 2541) ซึ่งการเชื่อมโยงโครงข่ายคอมพิวเตอร์มีลักษณะที่จะเป็นศูนย์สื่อการสอนในอนาคต ต่อไปก็จะมีการพัฒนาการสอนขึ้นบนอินเทอร์เน็ตและทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ได้ภายในระบบนี้ การเชื่อมโยงเครือข่ายของระบบคอมพิวเตอร์ในศูนย์สื่อต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จะช่วยให้นักเทคโนโลยีทางการศึกษาทำงานได้ง่ายขึ้นถ้าได้ ปรับปรุงเชื่อมโยงการใช้ให้เป็นระบบอัตโนมัติ (Baumbach, 1991)
การพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อนให้มีการเชื่อมโยงได้ จะต้องอาศัยทีมงานที่มีความรู้ในเรื่อง-ของระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายด้วย (Jacob, 1989 : 3-11) ดังนั้นบทบาทของนักเทคโนโลยีจึงไปใช่เพียงกำหนดสื่อที่จะใช้แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ ผู้จัดการฐานข้อมูล หรือผู้ควบคุมการทำงาน แต่จะต้องมีคุณสมบัติในด้านของความรู้ความเข้าใจระบบการสื่อสาร ต้องเป็นผู้ติดต่อประสานงานติดตั้ง คอยเป็นที่ปรึกษาปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับระบบ รวมทั้งประเมินค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการทำเครือข่าย
รูปแบบของศูนย์สื่อการสอนที่เปลี่ยนไป
เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปศูนย์สื่อการสอนแต่ละยุคก็เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมจะมีหลายประการ ที่หนีไม่พ้นก็คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยี แต่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ก็ไม่ใช่ว่าจะทำให้ศูนย์สื่อการสอนได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของศูนย์สื่อการสอนจะเปลี่ยนไปได้หรือไม่ ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ (Lumley, 1995) คือ
1. วิสัยทัศน์ของผู้บริหารศูนย์สื่อการสอน (Vision) 2. การพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในศูนย์ (Staff Development) 3. การนำเอาเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เข้ามาช่วยนักเทคโนโลยีการศึกษา 4. การสร้างความชัดเจนในการให้ครูมีส่วนร่วม 5. มีกระบวนวางแผนหลักสูตรร่วมกันกับนักเทคโนโลยีการศึกษา 6. ผู้บริหารให้การสนับสนุน
ประการสำคัญคือการรับรู้คุณค่าของศูนย์สื่อการเรียนการสอน ของครูอาจารย์ นักเรียน และ การใช้ประโยชน์ของศูนย์ ฮวง และแวกแมน (Huang and Waxman, 1994) มหาวิทยาลัยฮูสตัน ได้ศึกษาผลกระทบของศูนย์สื่อกับความคาดหวังของที่มีผลต่ออาชีพของเขา โดยใช้แบบสอบถามนักศึกษาวิชาครูเกี่ยวกับกิจกรรมของศูนย์สื่อการสอน ซึ่งผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าศูนย์สื่อการสอนมีความเกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อผู้ที่จะเป็นครูในอนาคตในระดับสูง โดยเฉพาะมีการแสดงให้เห็นได้ชัดว่านักศึกษาวิชาครูเห็นว่าศูนย์สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญกับงานที่การศึกษา แต่แม้ว่าจะว่าประโยชน์ของศูนย์สื่อการสอนมีมากก็ตาม แต่ก็พบว่าการรับรู้คุณค่าของศูนย์สื่อการสอนก็เป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุนและให้เห็นถึงคุณค่าของศูนย์สื่อที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนการสอน ในแนวคิดของการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จากการเปรียบเทียบการใช้ศูนย์สื่อการสอนช่วยสนับสนุนในการเรียนการสอน จะช่วยทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในหลักสูตรที่เรียนดีกว่าวิธีการสอนแบบเดิม ๆ (Bingham, 1995) แต่เมื่อศูนย์สื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ เข้าได้กับเทคโนโลยีใหม่และแนวคิดใหม่ ๆ
การจัดพื้นที่ของศูนย์สื่อการสอนในอนาคต ไม่ใช่การจัดพื้นที่ในการแหล่งเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ แต่จะเป็นการจัดพื้นที่สำหรับอุปกรณ์โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดให้มีอยู่ในห้องปฏิบัติการ, มีพื้นที่บริเวณการเชื่อมโยงเครือข่าย, พื้นที่การใช้ CD-ROM, พื้นที่อุปกรณ์การส่งสัญญาณแบบสองทาง เทเลคอนเฟอร์เรนท์ และพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม การออกแบบศูนย์สื่อการสอนในอนาคตเป็นการออกแบบเพื่อรองรับเทคโนโลยีโทรคมนาคม (Burke, 1990 : 123) ศูนย์สื่อการสอนจะไม่ใช่เพียงศูนย์จัดเก็บสื่อโสตทัศน์หรือศูนย์ให้ยืมใช้เครื่องมือ แต่จะเป็นที่ยกระดับและเพิ่มศักยภาพของกระบวนการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิมไปสู่แหล่งความรู้ใหม่มีการวิจัย การสืบค้น และการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ในอนาคต ศูนย์สื่อในอนาคตจะต้องมีองค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้เข้าถึงการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยประกอบไปด้วยคณะทำงานที่เป็นมืออาชีพเช่น นักสารสนเทศ,นักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ,โปรแกรมเมอร์, นักวิจัย, นักนิเวศน์วิทยา และสาขาต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมการเรียน (Lavi, 1994 : 40) ซึ่งแสดงรูปแบบที่เลวีนำเสนอดังในรูปที่ 2 เป็นการจัดศูนย์สื่อการสอนขนาดใหญ่ในอนาคตควรประกอบด้วย
1. ส่วนที่เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อการสอนต่าง ๆ ได้แก่ โสตทัศนูปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยมีสถานที่จัดเก็บและวางกฎระเบียบในการยืม/คืน และการเข้ามาใช้ศูนย์ 2. ส่วนที่เป็นนักวิชาการ ที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาการเรียนการสอน วิธีการสอน ยกระดับ และพัฒนาข้อมูลและจัดเก็บฐานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ 3. ส่วนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาและแนะนำวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและวิจัยค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ 4. ส่วนพื้นที่ให้บริการทางวิชาการ ได้แก่ การจัดพื้นที่เพื่อประชุมทางวิชาการ การบรรยายสำหรับชั้นเรียนขนาดใหญ่ พื้นที่การนำเสนอผลงานทางวิชาการที่ทันสมัย 5. ส่วนการผลิตสื่อการเรียนการสอน จัดให้มีห้องปฏิบัติการการผลิตสื่อ ห้องสตูดิโอบันทึกภาพและเสียง ห้องทำงานกราฟิกและคอมพิวเตอร์ 6. ส่วนเทคโนโลยีระบบสื่อสาร เป็นส่วนที่จัดเฉพาะเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อการสื่อสารทางการศึกษา ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต เครือข่ายเส้นใยแสง ระบบวีดิโอคอนเฟอร์เรนต์ การศึกษาผ่านดาวเทียม
รูปที่ 2 Resource Center (Lavi, 1994)
สิ่งที่ควรคำนึงนอกเหนือจากการที่ศูนย์สื่อต้องมีอะไรแล้ว มีอะไรที่นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่นอีก แมควาย (McVey, 1996) ได้เสนอให้พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ประกอบในการพิจารณา เนื่องจากสภาพแวดล้อมของศูนย์สื่อเองก็เป็นองค์ประกอบสำคัญ ประการหนึ่งในการจูงใจและเชิญชวนให้เข้ามาใช้บริการ รวมถึงความพร้อมในด้านเครื่องอำนวยความสะดวกและเครื่องมือต่าง ๆ ของศูนย์สื่อเอง ยกตัวอย่าง The Adsetts Centre ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ฮอลแลม ประเทศอังกฤษ ที่นอกจากจะมีวัสดุสิ่งพิมพ์ วัสดุสื่อ ศูนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์เน็ตเวอร์ค และพื้นที่ผลิตสื่อแล้ว ภายในศูนย์เองยังจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โดยติดตั้งโทรศัพท์ เคเบิลทีวี เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับศูนย์สื่อที่ต่าง ๆ ให้ผู้ใช้ได้ค้นข้อมูลจาก CD-ROM สามารถส่งไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) ค้นคว้าหรือติดต่อหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต (Internet) ให้บริการอัดล้างภาพและมีพนักงานให้คำแนะนำ รวมถึงการฝึกและสอนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์สื่อต่าง ๆ ให้กับผู้เข้ามาใช้ มีทีมที่ทำงานในด้านภาพและเสียงให้บริการบันทึกเสียงและถ่ายทำวีดิทัศน์ในสตูดิโอ มีระบบดาวเทียมที่รับสถานีของประเทศต่าง ๆ มีห้องประชุมและห้องบรรยายขนาด 150-200 คน ห้องประชุมสัมนาที่มีการนำเสนอด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย (Purdy, 1997) มีลักษณะการจัดศูนย์สื่อเหมือนกับศูนย์สรรพสินค้า แต่เต็มไปด้วยศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่สะดวกสบายและทันสมัยที่สุด
ศูนย์สื่อการเรียนการสอนไร้พรมแดน
เมื่อไปถึงจุดหนึ่งของการเต็มอิ่มทางเทคโนโลยี รูปแบบของศูนย์สื่อการเรียนการสอนก็จะเป็นศูนย์สื่อการเรียนการสอนไร้พรมแดน การศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดอยู่แค่พื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารหรือในโรงเรียน แต่จะเป็นศูนย์สื่อที่ผู้ใช้บริการสามารถอยู่ได้ทุกที่ สามารถเข้าไปหาความรู้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังศูนย์ หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ศูนย์สื่อการสอนไร้พรมแดนอยู่บนพื้นฐานของ ความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการและสร้างทางเลือกใหม่ตามหลักสูตร ตามความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน จัดพื้นที่และบริเวณให้ผู้ใช้บริการได้เข้าใช้อย่างสะดวกสบาย สร้างบรรยากาศเชิญชวนให้ผู้รับบริการมีอิสระในการอ่านและการค้นคว้าข้อมูล (Genlken, 1995) โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการนำเอาคอมพิวเตอร์เครือข่ายการศึกษา (Computer-Base Network) เข้ามาช่วยให้ผู้เรียนกับผู้เรียน และครูกับผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นโดยไม่ลดการติดต่อสื่อสารทั่วไปที่เคยใช้อยู่ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นจากแบบเดิมที่เคยเห็นหน้ากันเฉพาะในห้องเรียน ได้มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นในออนไลน์ (Bialo and Sivin-Kachala, 1996)
รูปแบบของศูนย์สื่อการสอนไร้พรมแดน จึงเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของแนวคิดที่มีอยู่ในปัจจุบันและแนวคิดที่ควรจะเป็นในอนาคต ภายในกรอบความเป็นไปได้ของการบริหาร การบริการ บุคลากร งบประมาณ และการจัดสภาพของศูนย์สื่อ กลายเป็นรูปแบบที่เป็นไปได้ตามรูปที่ 3 ซึ่งผู้ใช้จะเข้าไปใช้บริการศูนย์สื่อการเรียนการสอนไร้พรมแดนที่ประกอบไปด้วย
1. คอมพิวเตอร์เครือข่าย (Computer Network) เป็นศูนย์กลางของศูนย์สื่อการเรียนการสอน ที่ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทั้งที่ศูนย์ที่หน่วยงานจัดตั้งขึ้น หรือผู้ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ส่วนตัวจากบ้านผ่านโมเด็มติดต่อกับศูนย์สื่อตามต้องการ หรือติดต่อแบบสองทางในแบบเทเลคอนเฟอร์เรนต์ภายในระบบคอมพิวเตอร์ 2. การค้นหา (Search) เป็นส่วนของการให้บริการค้นหาข้อมูลของสื่อ โสตทัศนวัสดุ การให้ บริการ การยืม/คืน และเข้ามาเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ หรือชมรายการวีดิทัศน์ ข่าวสารต่าง ๆ ที่ทางศูนย์ได้จัดเอาไว้ให้อย่างอิสระ 3. อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นบริการหนึ่งของศูนย์สื่อการสอนที่เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ไป ทั่วโลกโดยผ่านระบบเครือข่ายสากล ติดต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก และการส่งข่าวสารต่าง ๆ โดยผ่านอีเมลย์ 4. ซีดีรอม (CD-ROM) เป็นส่วนของระบบฐานข้อมูลของศูนย์สื่อการเรียนการสอน สำหรับ การค้นคว้าเอกสาร งานวิจัย บทความ ที่ศูนย์ได้จัดหาสำหรับให้บริการข้อมูลสำหรับผู้ใช้บริการในการเข้ามาค้นคว้า นอกเหนือจากระบบเปิดอื่น ๆ ผู้ใช้บริการ การค้นหา อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ เครือข่าย การเชื่อม การบริหาร ซีดีรอม ระหว่างศูนย์ การบริการ บุคลากร ระบบสื่อสาร งบประมาณ การจัดสภาพภายในศูนย์สื่อการเรียนการสอน
สิ่งที่ควรคำนึงนอกเหนือจากการที่ศูนย์สื่อต้องมีอะไรแล้ว มีอะไรที่นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่นอีก แมควาย (McVey, 1996) ได้เสนอให้พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ประกอบในการพิจารณา เนื่องจากสภาพแวดล้อมของศูนย์สื่อเองก็เป็นองค์ประกอบสำคัญ ประการหนึ่งในการจูงใจและเชิญชวนให้เข้ามาใช้บริการ รวมถึงความพร้อมในด้านเครื่องอำนวยความสะดวกและเครื่องมือต่าง ๆ ของศูนย์สื่อเอง ยกตัวอย่าง The Adsetts Centre ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ฮอลแลม ประเทศอังกฤษ ที่นอกจากจะมีวัสดุสิ่งพิมพ์ วัสดุสื่อ ศูนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์เน็ตเวอร์ค และพื้นที่ผลิตสื่อแล้ว ภายในศูนย์เองยังจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โดยติดตั้งโทรศัพท์ เคเบิลทีวี เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับศูนย์สื่อที่ต่าง ๆ ให้ผู้ใช้ได้ค้นข้อมูลจาก CD-ROM สามารถส่งไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) ค้นคว้าหรือติดต่อหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต (Internet) ให้บริการอัดล้างภาพและมีพนักงานให้คำแนะนำ รวมถึงการฝึกและสอนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์สื่อต่าง ๆ ให้กับผู้เข้ามาใช้ มีทีมที่ทำงานในด้านภาพและเสียงให้บริการบันทึกเสียงและถ่ายทำวีดิทัศน์ในสตูดิโอ มีระบบดาวเทียมที่รับสถานีของประเทศต่าง ๆ มีห้องประชุมและห้องบรรยายขนาด 150-200 คน ห้องประชุมสัมนาที่มีการนำเสนอด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย (Purdy, 1997) มีลักษณะการจัดศูนย์สื่อเหมือนกับศูนย์สรรพสินค้า แต่เต็มไปด้วยศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่สะดวกสบายและทันสมัยที่สุด
ศูนย์สื่อการเรียนการสอนไร้พรมแดน
เมื่อไปถึงจุดหนึ่งของการเต็มอิ่มทางเทคโนโลยี รูปแบบของศูนย์สื่อการเรียนการสอนก็จะเป็นศูนย์สื่อการเรียนการสอนไร้พรมแดน การศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดอยู่แค่พื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารหรือในโรงเรียน แต่จะเป็นศูนย์สื่อที่ผู้ใช้บริการสามารถอยู่ได้ทุกที่ สามารถเข้าไปหาความรู้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังศูนย์ หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ศูนย์สื่อการสอนไร้พรมแดนอยู่บนพื้นฐานของ ความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการและสร้างทางเลือกใหม่ตามหลักสูตร ตามความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน จัดพื้นที่และบริเวณให้ผู้ใช้บริการได้เข้าใช้อย่างสะดวกสบาย สร้างบรรยากาศเชิญชวนให้ผู้รับบริการมีอิสระในการอ่านและการค้นคว้าข้อมูล (Genlken, 1995) โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการนำเอาคอมพิวเตอร์เครือข่ายการศึกษา (Computer-Base Network) เข้ามาช่วยให้ผู้เรียนกับผู้เรียน และครูกับผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นโดยไม่ลดการติดต่อสื่อสารทั่วไปที่เคยใช้อยู่ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นจากแบบเดิมที่เคยเห็นหน้ากันเฉพาะในห้องเรียน ได้มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นในออนไลน์ (Bialo and Sivin-Kachala, 1996)
รูปแบบของศูนย์สื่อการสอนไร้พรมแดน จึงเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของแนวคิดที่มีอยู่ในปัจจุบันและแนวคิดที่ควรจะเป็นในอนาคต ภายในกรอบความเป็นไปได้ของการบริหาร การบริการ บุคลากร งบประมาณ และการจัดสภาพของศูนย์สื่อ กลายเป็นรูปแบบที่เป็นไปได้ตามรูปที่ 3 ซึ่งผู้ใช้จะเข้าไปใช้บริการศูนย์สื่อการเรียนการสอนไร้พรมแดนที่ประกอบไปด้วย
1. คอมพิวเตอร์เครือข่าย (Computer Network) เป็นศูนย์กลางของศูนย์สื่อการเรียนการสอน ที่ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทั้งที่ศูนย์ที่หน่วยงานจัดตั้งขึ้น หรือผู้ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ส่วนตัวจากบ้านผ่านโมเด็มติดต่อกับศูนย์สื่อตามต้องการ หรือติดต่อแบบสองทางในแบบเทเลคอนเฟอร์เรนต์ภายในระบบคอมพิวเตอร์ 2. การค้นหา (Search) เป็นส่วนของการให้บริการค้นหาข้อมูลของสื่อ โสตทัศนวัสดุ การให้ บริการ การยืม/คืน และเข้ามาเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ หรือชมรายการวีดิทัศน์ ข่าวสารต่าง ๆ ที่ทางศูนย์ได้จัดเอาไว้ให้อย่างอิสระ 3. อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นบริการหนึ่งของศูนย์สื่อการสอนที่เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ไป ทั่วโลกโดยผ่านระบบเครือข่ายสากล ติดต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก และการส่งข่าวสารต่าง ๆ โดยผ่านอีเมลย์ 4. ซีดีรอม (CD-ROM) เป็นส่วนของระบบฐานข้อมูลของศูนย์สื่อการเรียนการสอน สำหรับ การค้นคว้าเอกสาร งานวิจัย บทความ ที่ศูนย์ได้จัดหาสำหรับให้บริการข้อมูลสำหรับผู้ใช้บริการในการเข้ามาค้นคว้า นอกเหนือจากระบบเปิดอื่น ๆ ผู้ใช้บริการ การค้นหา อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ เครือข่าย การเชื่อม การบริหาร ซีดีรอม ระหว่างศูนย์ การบริการ บุคลากร ระบบสื่อสาร งบประมาณ การจัดสภาพภายในศูนย์สื่อการเรียนการสอน
รูปที่ 3 รูปแบบของศูนย์สื่อการเรียนการสอนไร้พรมแดน
5. การเชื่อมโยงระหว่างศูนย์สื่อการสอน (Link) เป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างศูนย์สื่อการ สอนต่าง ๆ ในการให้ยืมวัสดุอุปกรณ์ระหว่างกัน และค้นคว้าข้อมูลที่มีฐานข้อมูลแตกต่างกัน ได้หาข้อมูลที่ศูนย์แห่งอื่นอาจไม่มี เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน 6. ระบบสื่อสารไร้พรมแดน เป็นส่วนที่ศูนย์สื่อการสอนติดต่อข้อมูลผ่านดาวเทียม หรือเส้น ใยแสงให้ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกับระบบสื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ โดยผ่านศูนย์สื่อการสอนในการเป็นฝ่ายบริหารและจัดบริการ ซึ่งผู้ใช้อาจยุ่งยากหรือสิ้นเปลืองถ้าดำเนินเอง แต่ระบบที่ผ่านศูนย์จะกระจายไปยังผู้ใช้ต่าง ๆ ได้อย่างเสรี
ศูนย์สื่อการเรียนการสอนไร้พรมแดนไม่ใช่การมีองค์ประกอบดังกล่าวครบเท่านั้น แต่หมายถึงองค์ประกอบมีความสมบูรณ์ในการให้บริการกับผู้ใช้แล้ว จึงจะถือเป็นศูนย์สื่อการเรียนการสอนที่ไร้พรมแดนนั้นคือ ผู้ใช้บริการสามารถเข้าสู่ศูนย์ได้ในทุกรูปแบบ เช่น ต่อคอมพิวเตอร์ผ่านโมเด็มผ่านระบบโทรศัพท์จากบ้าน ต่อผ่านเส้นใยแสงในที่ทำงาน หรือต่อจานรับสัญญาณจากดาวเทียม เช่นเดียวกันระบบภายในศูนย์มีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต มีโปรแกรมฐานข้อมูล โปรแกรมค้นหาในซีดีรอม มีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์สื่ออื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีระบบสื่อสารต่าง ๆ ต่อร่วมอยู่กับศูนย์ที่ผู้ใช้สามารถเข้ามารอรับบริการได้จึงจะเป็นศูนย์ไร้พรมแดนที่สมบูรณ์แบบ และเป็นศูนย์สื่อการสอนสำหรับอนาคต
สรุป
เมื่อเรารู้ว่าศูนย์สื่อการสอนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ก็มีคำถามกลับมาที่เราในฐานะนักเทคโนโลยีการศึกษาที่จะต้องเกี่ยวข้องและมีบทบาทอย่างแน่นอนในศูนย์เหล่านั้น อะไรที่เราควรจะต้องรู้ อะไรที่เราจะต้องดำเนินการ อะไรที่เราจะต้องประสบในฐานะนักเทคโนโลยีการศึกษา เราต้องใช้วิธีการใดในการจัดการศูนย์สื่อ บุคลากรของเราจะต้องเป็นใครมีความสามารถอย่างไร บทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนว่าจะผลิต ให้บริการ หรือทั้งผลิตและให้บริการ หรือติดตั้งแต่ระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายแล้วปล่อยให้ผู้ใช้เข้ามาใช้เอง เราจะหารายได้เข้าศูนย์จากการผลิตและการบริการดีหรือไม่ ต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำและประสิทธิภาพรวมทั้งศูนย์หรือไม่ หรือประกันคุณภาพของศูนย์ แบบไหนจะดีกว่ากัน ยังมีเรื่องราวของศูนย์สื่อการสอนอีกมากมายที่ต้องติดตาม ตราบใดที่เทคโนโลยียังเปลี่ยนแปลงและตราบใดที่เรายังเป็นนักเทคโนโลยีการศึกษา
บรรณานุกรม
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. อินเทอร์เน็ต : เครือข่ายเพื่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์. 26(2) , พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ 2541 : 55-66.
นิพนธ์ ศุขปรีดี. สัมมนาการวิจัยและทฤษฏีด้านบริการการศึกษา. ประมวลสาระชุดวิชา สัมนาการวิจัย และทฤษฎีทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1-4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.
Baker, Philip D. and Bender, David R. Library Media Program and the Special Learner. Hamde, Connecticut : Library Professional Publication, 1981.
Baumbach, Donna. The School Library Media Specialist's Role in Instructional Design : Past,Present and Future. In Instructional Technology : Past,Present and Future. Anglin, G.J. (ed). Englewood, Colorado : Libraries Unlimited, Inc., 1991.
Bialo, E.R and Sivin-Kachala, J. The Effectiveness of Technology in Schools : A Summary of Recent Reserach. School Library Media Quarterly. Fall, (1996) : 51-57.
Bingham, Janice E.M. A Comparative Study of Curriculum Integrated and Traditional School Library Media Programs Achievement Outcomes of Sixth-Grade Student Research Papers. Dissertation Doctoral. Kansas State University, 1994. Dissertation Abstracts International. 56(1), July 1995 : 16.
Burke, Michael A. Designing the K-12 Library Media Program to Facilitate Distance Education. Journal of Educational Technology System. 19(2), 1990 : 115-127.
Craver, Kathleen W. Shaping Our Future : The Role of School Library Media Centers. School Library Media Quarterly. Fall, (1995) : 13-18.
Dickinson, Gail K. Selection and Evaluation of Electronic Resources. Englewood, Colorado : Libraries Unlimited, Inc., 1994.
Gehlken, Vivian Seiber. The Role of The High School Library Media Program in Three Nationally Recognized South Carolina Blue Ribbon Secondary Schools. Doctoral Dissertation. University of South Carolina. Dissertation Abstracts International. 55(11), 1995 : 3338.
Huang, Shwu-Yong and Waxman, Hersholt C. The Impact of Learning Resources on Prospective Teachers' Concerns about the Profession. International Journal of Instructional Media. 21(1), 1994 : 79-91.
Jacob, M. E. L. National Database and Linkage. Trezza, Alphonse F. (Ed.) Changing Technology Opportunity and Challenge. Boston : G.K. Hall & Co., 1989.
Lavi, Art. A Life-Long "Distance" Learning-Communication System (L-CS) for The Future. International Journal of Instructional Media. 21(1), 1994 : 33-51.
Lumley, Arvina Marie. The Change Process and The Change Outcomes in The Development of an Innovative Elementary School Library Media Program. Doctoral Dissertation. Kansas State University. Dissertation Abstracts International. 56(1), 1995 : 17.
McVey, G.F. Ergonomics and The Learning Environment. Handbook for Research for Educational Communications and Technology. In Jonassen, D. editor. Washingtion, D.C. : Association for Educational Communication and Technology, 1996.
Merrill, I.R. and Drob, H.A. Criteria for Planning the College and University Learning Resources Center. Washington, D.C. : Association for Educational Communication and Technology, 1977.
Peterson, Gary T. The Media Center in the Educational Mainstream. The Learning Center- A Second Time Around. Washington, D.C. Association for Education Communications and Technology, 1974.
Purdy, Linda. A Vision for the Future : The Adsette Centre, Sheffield Hallam University. Audio- Visual Librarian Multimedia Information. 23(4), November 1997 : 250-253.
Wang, Shousan. Learning Resource Center.. The Choices of Its Organization and Management. International Journal of Instructional Media. 21(3), 1994 : 221-228.